กลุ่มชุมชนของเกม เริ่มมีความกังวลใจเมื่อได้รู้ข่าวว่า Tencent กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนได้เข้ามาซื้อหุ้นของ Techland บริษัทที่สร้างเกมซีรีส์ Zombie Survivor ชื่อดัง โดยตามข้อมูลนั้นพวกเขาซื้อไปแล้ว 67% ซึ่งหมายความว่า Tencent ได้เข้ามาเป็นเจ้าของธุรกิจไปแล้วอย่างเป็นทางการตามสัดส่วนผู้บริหาร ซึ่งจากประวัติที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้สำหรับการเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทพัฒนาเกมของกลุ่มทุนจีนรายนี้นั้น ล้วนแล้วแต่สร้างคำถามให้กับแฟนเกมโดยทั่วไปอย่างมากเนื่องจากพวกเขาเข้ามาเปลี่ยนแนวทางของเกมดั้งเดิมออกไปในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่จะให้ผู้พัฒนาขยายแพลตฟอร์มดั้งเดิมของเกมไปที่ตลาด Mobile Game มากขึ้น โดยที่หากพวกเขาไม่ยอมที่จะรับข้อเสนอดังกล่าวก็จะเจอกับการลอกเลียนแบบไปสู่เกมมือถืออย่างหน้าตาเฉยโดยที่เจ้าของเดิมไม่สามารถทำอะไรได้เลย

Dying Light, Dying Light 2, Techland, Tencent

Best Gamer Ali หนึ่งในช่องพันธมิตรของ Dying Light ได้เปิดเผยข้อมูลของบริษัท Techland ที่ในตอนนี้ได้ถูก Tencent เข้ามาถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่ไปแล้ว โดยให้ข้อมูลว่าในชุมชนเกมนั้นเริ่มมีการพูดคุยถกเถียงกันเรื่องอนาคตของเกมซีรีส์ DL ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน โดยที่มีการยกประวัติของค่ายเกมที่ถูก Tencent เข้ามาเป็นเจ้าของนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องพบกับปัญหาในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้นก็คือการที่ถูกให้ขยายตลาดไปสู่ Mobile Game ซึ่งในเวลานี้นั้นขยายตัวอย่างรวดเร็วแทบจะใหญ่ที่สุดแล้วก็ว่าได้ โดยตัวอย่างของบริษัทที่ถูกเข้ามาซื้อหุ้นนั้นมีตั้งแต่ Discord, Riot Games, Epic Game, Ubisoft, Reddit, Activision Blizzard และอีกมากมายซึ่งทั้งหมดนี้ Techland ก็รวมอยู่ด้วย โดยก่อนหน้านี้ CEO ของ Techland ได้ประกาศถึงแผนที่จะสร้างเกม Open-world ฟอร์มใหญ่ที่สามารถผจญภัยไปได้ไกลกว่าที่มีมาภายใต้ชื่อเกมใหม่ แต่จะให้ฝันเป็นจริงได้นั้นจะต้องมี “พันธมิตรที่แข็งแกร่ง” เข้ามาร่วมงานกับเราด้วย ซึ่งก็เป็นไปตามข่าว Tencent เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทอย่างที่รู้กัน และความกังวลก็เกิดขึ้นทันทีที่แฟนเกมรู่ข่าวดังกล่าวนี้

Tencent ทำอะไรให้แฟนเกมกังวล เรื่องนี้จะต้องรู้ประวัติที่พวกเขาเคยสร้างไว้กับบริษัทพัฒนาเกมที่พวกเขาเข้าไปซื้อหรือถือหุ้นอยู่มากน้อยแตกต่างกันออกไป โดยกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของจีนรายนื้เข้าไปซื้อหุ้นบริษัทเหล่านั้นโดยมีเงื่อนไขที่จะให้ทุนอุดหนุนบริษัทก้อนโตแลกกับการที่พวกเขาต้องพัฒนาเกมหลักที่อยู่ในแพลตฟอร์มดั้งเดิมคือ PC ไปสู่ Mobile Game ในคุณภาพที่ลดทอนลงมา ตัวอย่างแรกคือ Riot Games ผู้พัฒนา League of Legends และ Valorant ซึ่งหลายคนอาจจะตกใจหากทราบว่า Tencent นั้นเข้ามาเป็นเจ้าของ Riot Games เกม 100% ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาอยากจะให้ทีม Riot สร้าง League of Legends Mobile ออกมาก แต่ทางผู้พัฒนาปฏิเสธโดยให้เหตุผลว่าผู้เล่นจะไม่ได้รับประสบการณ์เดียวกันในเวอร์ชั่นมือถือ ผลที่ตามมาก็คือ Tencent ได้สร้างเกมในเวอร์ชั่นมือถือออกมาเองโดยตั้งชื่อว่า Arena of Valor ซึ่งได้รับความนิยสูงอย่างยิ่ง แน่นอนว่า Riot Games ไม่ถูกใจกับเรื่องนี้เนื่องจาก AoV นั้นแทบจะลอกเลียนแบบมาจาก LoL แบบ 1:1 เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นธีมภาพ ตัวละครในเกม รูปแบบสกิล แต่ทั้งหมดพวกเขาก็ทำอะไรไม่ได้มาก จนในที่สุดพวกเขาก็ปล่อย League of Legends เวอร์ชั่น Mobile ออกมาในภายหลังซึ่งก็กลายเป็นการดำเนินการที่ช้าเกินไป พวกเขาเสียทั้งตลาด แฟนเกม รวมไปถึงตำแหน่งความนิยมสูงสุดใน E-Sports ไปเรียบร้อยแล้ว

Dying Light, Dying Light 2, Techland, Tencent, League of Legends, Arena of Valor

Turtle Rock Studios ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูก Tencent เข้ามาซื้อกิจการไปเช่นเดียวกัน โดยบริษัทนี้เป็นผู้พัฒนาเกม Back4Blood เกมที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจมากๆ ในช่วงต้น ซึ่งได้ Warner Bros เป็นทั้งนายทุนและตัวแทนจำหน่าย แต่ปัจจุบันแทบจะเป็นเกมร้างไปแล้วรวมไปถึงชุมชนของเกมก็เงียบเหงาหลังจากที่ยักษ์ใหญ่จากจีนเข้ามาบริหาร

ต่อมากับเกม Apex Legends หนึ่งในเกมยอดนิยมที่ผู้พัฒนาอย่าง Respawn Entertainment ร่วมมือกับ Electronic Arts หนึ่งในยักษ์ใหญ่ของวงการเกม ซึ่งในปัจจุบันนี้คงจะรู้กันดีว่าเกมดังกล่าวในเวอร์ชั่น Mobile มีให้เล่นกันอยู่พักหนึ่งแล้วก็ปิดตัวไปเมื่อ 1 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา โดย Apex Legends Mobile นั้นพัฒนาโดย LightSpeed Studios และ Respawn Entertainment แต่ด้วยประสิทธิภาพของเกมที่แย่เกินจะบรรยาย ทำให้เกมเวอร์ชั้นนี้ปิดตัวลงไปจากการให้บริการเพียงปีเดียว แน่นอนว่า Electronic Arts เสียเงินไปเยอะกับความล้มเหลวนี้ ซึ่ง LightSpeed Studios ก็คือบริษัทในเครือข่ายของ Tencent นั่นเอง แล้วจากนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ High Energy Heroes เกมมือถือที่เรียกได้ว่าลอก Apex Legends ออกมาแบบ 1:1 แทบจะไม่ปรับแต่ง ซึ่งพัฒนาโดย Tencent

Dying Light, Dying Light 2, Techland, Tencent, Apex Legends, High Energy Heroes

ไปที่ World of Warcraft Chinese ที่แฟนเกมชาวจีนต่างเสียใจที่เกมได้ปิดเซอร์เวอร์ไปแล้ว แต่ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น Tencent ก็ภูมิใจที่จะประกาศ Tarisland เกม MMO RPG ที่เอาทุกอย่างจาก WoW ไปใส่ไว้ในมือถือโดยปรับเปลี่ยนธีมภาพนิดหน่อยให้ดูสดใสขึ้น แต่แฟนเกมทั่วไปหรือแม้แต่เกมเมอร์ชาวจีนยังบอกเป้นเสียงเดียวกันว่า นี่มัน World of Warcraft ชัดๆ

Dying Light, Dying Light 2, Techland, Tencent, World of Warcraft, Tarisland

ไม่ใช่แค่นั้น เกมดังๆ อีกหลายต่อหลายเกมก็โดน Tencent เข้าไปโครนนิ่งมาหมดไม่ว่าจะรูปแบบ แนวทาง หรือบางที่ก็เอาไปเปลี่ยนชื่อทั้งดุ้นดื้อๆ ในเวอร์ชั่น Mobile เลยก็มี อย่าง Crossfire ก็ลอกแบบมาจาก Counter Strike ยังกับฝาแฝดท้องเดียวกัน, Let’s Hunt Monsters ก็ลอกมาจาก Pokémon GO ในเวอร์ชั่น Downgrade, Crouching Deagon Legends ก็ลอกเลียนมาจาก Hearthstone

“แม้ในความเป็นจริงนั้น Tencent ต้องจ่ายเงินจำนวน 1.6 ล้านเหรียญให้กับ Blizzard จากการแพ้คดีที่ Blizzard ฟ้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่แค่นั้นไม่สามารถหยุดทุนใหญ่สัญชาติจีนกลุ่มนี้ได้”

ยังมี Game for Peace ก็ก๊อปปี้มาจาก PUBG Mobile ในแบบแทบจะเปลี่ยนแค่ภาษาของ UI เพียงเท่านั้น, Ace Force ก๊อปมาจาก Overwatch และยังมีลิสรายชื่อเกมอีกยาวเหยียดที่ Tencent เห็นว่าได้รับความนิยมพวกเขาก็จะเข้าจู่โจมทันทีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ทั้งหมดนี้คือสามารถสำคัญของกลุ่มแฟนเกม Dying Light เป็นกังวลเกี่ยวกันอนาคตของเกมและผู้พัฒนา โดยคำกล่าวของ Techland ที่ว่า “บริษัทมีอิสระในการพัฒนาเกมอย่างเต็มที่” ซึ่งกลุ่มแฟนเกมบอกว่ามัน “ไร้สาระ” หรือให้กล่าวตรงๆ คือ “ตอแห_” เพราะว่าเมื่อถึงเวลาที่ Tencent ส่งเงินสนับสนุนเข้ามา ย่อมต้องมีเงื่อนไขอะไรบางอย่างมัดติดมาด้วยเสมอเพราะทุกอย่างมันคือธุรกิจ การเพิ่มระบบ Microtransaction เข้ามาภายในเกมคือหนึ่งในข้อกังวลที่จะเกิดขั้นกับเกมที่พวกเขารัก หรือแม้แต่ Battle Pass System และ Online Service ทุกอย่างล้วนเป็นไปได้ภายใต้แนงทางของ Tencent ที่ตอนนี้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดใน Techland


แน่นอนว่าหากมองในด้านธุรกิจนั้น Tencent ไม่ได้ผิดเลย (กรณี Dying Light) หากพวกเขาต้องการให้เกมนั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่อง การที่พวกเขาเข้ามาถือหุ้น Techland นั้นเพราะเขาชื่นชอบในเกมเ Dying Light หรือไม่นั้นต้องบอกว่าไม่ใช่เลย พวกเขามองการณ์ไกลไปที่เกมใหม่ของ Techland ที่เป็นโปรเจ็กต์ Open-world Fantasy RPG ขนาดยักษ์ นั่นต่างหากคือสิ่งที่พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมและหาประโยชน์

การเข้าไปถือหุ้นในเกมหลายๆ เกมของ Tencent นั้นส่งผลต่อเกมเหล่านั้นแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย มีตัวอย่างให้เห้นมากมายเช่นเกมยิงปืนบางเกมที่เมื่อยิงโดนศัตรูแล้วจะมีเลือดกระโนออกมาซึ่ก็ปกติ แต่เมื่อ Tencent เข้าไปมีเอี่ยวด้วย เลือดที่กระเด็นออกมาก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นสะเก็ดไฟกระเด็นออกมาแทน หรือแม้แต่เมื่อยิงศัตรูจนตายแล้วเกมก็จะทิ้งศพไว้สักพักก่อนจะหายไปพร้อมของที่ตกออกมา ภาษาเกมเรียกว่า Death Animation (DA) แต่เมื่อ Tencent เข้าไปมีเอี่ยวด้วย DA ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นตัวละครศัตรูนั่งคุกเข่าแล้วหยิบของในตัวออกมาให้พร้อมโบกมือแล้วหายไป อารมณ์และประสบการที่ได้จากเกมมันจึงต่างกันมากๆ ราวฟ้ากับเหวเลยทีเดียว

อีกตัวอย่างที่เห้นได้ชัดก็คือ Rainbow Six Siege เกมดังจากค่ายใหญ่ Ubisoft ที่เมื่อ Tencent เข้ามาถือหุ้นก็มีการให้เปลี่ยน UI Icon ของเกมหลายรายการ รวมไปถึง Graffiti ตรงฝาผนังก็ถูกปรับเปลี่ยน และลอยเลือดที่กระเด็นออกมาจากการต่อสู้ก็ถูกนำออกไปจากเกม การลบตู้ Slot Machine ออกไปจากผนังของบาร์เหล้า และอื่นภายในเกมอีกหลายอย่าง ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่การเซ็นเซอร์เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่มันเป็นการเปลี่ยนทุกเซอร์เวอร์เกมในโลกกันเลยทีเดียว โดยที่ Tencent นั้นได้เข้ามาถือหุ้นใน Ubisoft เพียงแต่ 5% เท่านั้น ในทางกลับกันลองนึกถึงคำกล่าวของ CEO Techland ที่ว่า “บริษัทมีอิสระในการพัฒนาเกมอย่างเต็มที่” ???

Dying Light, Dying Light 2, Techland, Tencent, Ubisoftม Rainbow Six Siege

ในปัจจุบันนี้เกมหลายเกมที่อยู่ในมือของ Tencent นั้น ได้มีการเพิ่ม Microtransaction ซึ่งระบบนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามันคือ pay-to-win ใครจ่ายเงินก็จะได้เปรียบ ตัวอย่างเช่น Crossfire ที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่แล้วระบบดังกล่าวจะมาในรูปแบบ Skin Bundles และ Boosters ที่ส่วนหนึ่งจะอยู่แบบถาวร และอีกส่วนที่สำคัญที่สุดอย่าง Boosters item ต่างที่จะอยู่แบบจำกัดเวลาหรือจำนวน ทำให้ต้องซื้อเพิ่มอีกเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด หรือบางครั้งจะมาในรูปแบบของไอเทมหายากที่จะมีให้เฉพาะช่วงทดสอบเกมเท่านั้น พอเกมเปิดจริงแล้วใครอยากได้ก็ต้องจ่ายเงินซื้อเท่านั้น อย่างเกม Epoch Points เป็นตัวอย่างซื้อ Tencent เป็นผู้บริหารเช่นเคย

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ระบบ Microtransaction จะเป็นผู้ร้ายในทุกเรื่อง ผู้พัฒนาเกมย่อมต้องการหาเงินเข้าบริษัทอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วซึ่งระบบดังกล่าวก้เป้นทางเลือกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ เกม แต่ปัยหามักจะอยู่ที่ราคาที่ต้องกับระบบดังกล่าวซึ่งมักจะสูงเกินไปกับสินค้าที่ได้มา บางเกมผู้เล่นต้องซื้อของภายในเกมที่มีราคาแพงยิ่งกว่าราคาเกมตัวเต็มเสียอีกก็มี ตัวอย่างเช่น Counter Strike กับ skin ในตำนานที่มีราคาพอๆ กับซื้อบ้านได้ทั้งหลัง

ในอนาคตสำหรับ Dying Light 2 Stay Human ภายใต้การบริการของ Tencent ผู้เล่นอาจจะได้เห็น Random Bundle หรือ “กล่องสุ่ม” ที่จ่ายเงินแล้วต้องมานั่งลุ้นว่าจะได้ สกินอาวุธ เครื่องประดับ หรือชุดแต่งกายที่อยากได้หรือไม่ ซึ่งมันจะทำให้ประสบการณ์ของเกมเอาชีวิตรอดจากฝูงซอมบี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง


ที่มา: Best Gamer Ali

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here