ถ้าวันนี้คุณเป็นอีกคนที่สนใจและอยากหันมาลองเป็นสตรีมเมอร์ดูบ้าง แน่นอนว่าคุณจำเป็นที่จะต้องมีคอนเทนต์ที่ดี มีคาแรคเตอร์ที่โดดเด่น คุณถึงจะเป็นที่รู้จักได้ในปี 2019 นี้ แต่สิ่งที่คุณจะหลีกเหลี่ยงไม่ได้เลยนั้นคือ อุปกรณ์การสตรีมมิ่งต่าง ๆ มาถึงตรงนี้ทุกคนคงเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าสตรีมเมอร์คืออะไร และคอนเทนต์ในการสตรีมของคุณเป็นแบบไหน

วันนี้ Gamerr.net เรามาแนะนำอุปกรณ์การสตรีมตั้งแต่ต้นเริ่มไปจนถึงเปิดสตรีมของคุณได้เลย !

อุปกรณ์

1.คอมพิวเตอร์ – สิ่งแรกเลยที่คุณจะต้องมี ซึ่งคอมพิวเตอร์นั้น เรื่องสเปคคอมพิวเตอร์นั้นคุณอาจต้องศึกษาเพิ่มว่าสิ่งที่คุณจะสตรีมนั้นคุณจะสตรีมอะไร คอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสเปคถึงขั้นไหน แต่สิ่งสำคัญในการไลฟ์สตรีมนั้นคือ CPU ถ้าเป็น intel ขั้นต่ำควร Core I5 Gen 7 ขึ้นไป หรือ AMD Ryzen 5 ขึ้นไป ,Ram 8 G ขึ้นไป ก็เพียงพอต่อการไลฟ์สตรีมแบบทั่วไปแล้ว

ส่วนตัวผู้เขียนเองใช้ AMD Ryzen 5 1600x GPU 1060 6G Ram 16G สตรีมเครื่องเดียว ก็สามารถสตรีมเกม PUBG PC ,Dota2 ,Fortnite ,Serkiro ก็สามารถสตรีมได้อย่างลื่นไหลไม่มีปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใด

เรื่อง Gaming Gear สำหรับใครที่มีงบประมาณที่จำกัดช่วงเริ่มต้นคุณยังไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งเหล่านี้มากนัก ให้นำงบประมาณที่จำกัด จ่ายกับสิ่งที่จำเป็นก่อนอาจเหมาะสมกว่า

2.อินเตอร์เน็ต – ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ แต่ ! ความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ความสำคัญอย่างมาก อย่างน้อยความเร็วอัพโหลดจำเป็นจะต้องสูงกว่า 5-10 MB เป็นอย่างน้อย เพราะถ้าต่ำกว่านี้คุณจะไม่สามารถสตรีมแบบ Full HD ได้ ถึงจะสตรีมแค่ HD สตรีมของคุณจะไม่ลื่นไหล เพราะความเร็วอินเตอร์เน็ตจะมีความเกี่ยวข้องกับบิดเรทอีกด้วย แต่เดี๋ยวเราจะอธิบายในส่วนของการตั้งค่าโปรแกรมในการใช้สตรีมในหัวข้อถัดไป

3.ไมโครโฟน – ส่วนมากที่สตรีมเมอร์ทั่วไปจะใช้ไมโครโฟนอยู่สองประเภทได้แก่ Condenser Microphon และประเภทไมโครโฟรที่มาพร้อมกับ Headset

Condenser Microphon – ไมโครโฟนประเภทนี้จะได้รับความนิยมในหมู่สตรีมเมอร์อย่างมาก เพราะคุณภาพเสียงค่อนข้างดี มีทางเลือกในการเลือกใช้ อย่างเช่น ถ้าคุณใช้ไมโครโฟนแบบ Headset บางครั้งไมโครโฟน Headset รุ่นนี้ดีแต่ ระบบเสียงห่วย อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าเป็น Condenser Microphon คุณก็เน้นคุณภาพของเสียงได้ตามความต้องการและงบประมาณได้เลย โดยไม่ต้องคำนึงถึงปัญหาอื่น และเมื่อใส่กับขาจับแล้วดูเท่ห์มีสไตล์ ให้อารมณ์ความเป็นสตรีมเมอร์ได้ดี

ข้อเสียของ Condenser Microphon ก็มีเช่นเดียวกัน เพราะ Condenser Microphon จะเป็นไมโครโฟนที่เก็บเสียงบริเวณกว้างได้ดีมาก ขณะที่คุณกำลังไลฟ์สตรีมอาจมีเสียง คลิ๊กเม้าส์ เสียงกดคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเสียงอันไม่พึงประสงค์ อย่างเช่น เสียงมอเตอร์ไซต์แว๊น เสียงหมาข้างบ้านเห่า หรือแม้เสียงพัดลม หรือคอมแอร์ ถ้าห้องสตรีมของคุณไม่เก็บเสียงอาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ชมได้

Headset – สำหรับคนที่ไม่ซีเรียสกับคุณภาพของเสียงมากนัก Headset ถือว่าตอบโจทย์ข้อนี้ได้อย่างดีเยี่ยม แต่ Headset สมัยนี้ผลิตออกมาได้ดีทั้งในเรื่องของคุณภาพเสียงและไมโครโฟนได้ดีอยู่แล้ว และยังใช้งานง่าย Plug and play ไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้งขาหรืออุปกรณ์เสริมมากมายนัก แถมให้อารมณ์ความเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตได้อีกด้วย

ข้อเสียของ Headset แน่นอนว่ามีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียเช่นเดียวกัน การใส่ Headset เป็นเวลานานอาจทำให้ใบหูของคุณเกิดอาการเจ็บหรือร้อนได้ ถ้าเป็น Headset ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพมากนัก จะให้เสียงดีใส่สบายราคาก็สูงเกิน 5,000 บาททั้งสิ้น และตำแหน่งของไมโครโฟน Headset ก็มีความอันตรายเช่นเดียวกัน ถ้าคุณวางตำแหน่งของไมโครโฟน Headset ไม่ดีคุณอาจหายใจลดไมโครโฟนอยู่ และนั้นเป็นสิ่งที่สตรีมเมอร์ไม่ควรให้มันเกิดขึ้น

4.กล้อง Webcam หรือ กล้องดิจิตอล – อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ต้องมีก็สามารถทำการสตรีมได้ แต่การที่คุณเป็นสตรีมเมอร์ที่เปิดกล้อง Webcam เสมือนเป็นการทลายกำแพงระหว่างคุณและผู้ชมในระดับหนึ่ง สตรีมเมอร์ที่ดังหลายคน บางครั้งผู้ชมมองกล้องมากกว่ามองสิ่งที่เขากำลังทำผ่านสตรีมเสียอีก

กล้อง Webcam เป็นกล้องที่ค่อนข้างเหมาะกับงานสตรีมเมอร์มากที่สุดแล้วก็ว่าได้ เพราะใช้งานง่ายทุกอย่างแทบจะ Plug and play ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมอะไรมากนัก ราคาไม่สูงคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่แน่นอนว่าความสวยงามความลื่นไหลความคมชัดของภาพสู้กล้องดิจิตอลไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าคุณจะเป็นสตรีมเมอร์ที่เน้นการเล่นเกมโชว์หรือการสร้างคอนเทนต์จากคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว กล้อง Webcam น่าจะเป็นประโยคที่จะมาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างดีเยี่ยม

กล้องดิจิตอล สำหรับสตรีมเมอร์สายภาพลักษณ์ หรือเน้นสร้างคอนเทนต์จากตัวบุคคล ผ่านการถ่ายทอดสด ตัวเลือกนี้จะทำให้สตรีมของคุณน่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว สตรีมเมอร์ดัง ๆ หลายท่านก็ใช้เช่นเดียวกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือคุณจะต้องใช้งบประมาณที่มากพอสมควร ไหนจะอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกมากมาย กล้องดิจิตอลใช้ในการสตรีมเสมือนเป็นทางเลือกมากกว่าตัวเลือก ที่คุณจะเลือกรับหรือไม่รับก็สามารถทำได้

5.โปรแกรมใช้ในการสตรีม – โปรแกรมเหล่านี้มีให้เลือกใช้มากมาย คุณสามารถเลือกได้ตามความต้องการ แต่เราแนะนำ โปรแกรม OBS เพราะใช้งานง่ายและเป็น Open Source

ขั้นที่หนึ่ง

เริ่มแรกให้คุณทำการดาวน์โหลดโปรแกรม OBS มาเป็นอันดับแรกและทำการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ของคุณ และเมื่อคุณเปิดโปรแกรม OBS ขึ้นมาจะมีหน้าตาแบบนี้

ส่วนที่ 1 พื้นที่ที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดำตรงกลางเปรียบเสมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ เมื่อคุณใส่ Source ต่าง ๆ ลงไปกรอบตรงนี้จะทำการแสดงผลให้คุณเห็นก่อนการเผยแพร่

ส่วนที่ 2 Scene เปรียบเสมือนหน้ากระดาษที่คุณจะเสริมเติมแต่ง Source ต่าง ๆ เข้าไปและเซฟไว้เป็น Scene 1 Scene 2 Scene 3 แล้วเราก็สามารถเลือกใช้ Scene ใดSceneหนึ่งได้เช่นเดียวกัน

ส่วนที่ 3 Source จะเป็นการเรียกคำสั่งเมนูต่าง ๆ เข้ามาให้อยู่ใน Scene ยกตัวอย่างเช่น ในหนึ่ง Scene อาจมีการเรียก Source รูปภาพตกแต่งสตรีม, Source หน้าแคปเจอร์, Source เสียงไมค์ รวมเป็น 1 Scene และทำการเลือก Scene นั้นขึ้นไลฟ์สตรีม

ส่วนที่ 4 เป็นคำสั่งต่าง ๆ ในการใช้กดการเริ่มสตรีม,กดบันทึกหน้าจอเป็นวีดีโอ หรือการตั้งค่า

ขั้นที่สอง

ให้คุณเปิดโปรแกรมหรือเกมส์หรือคอนเทนต์อะไรก็ตามที่จะทำการไลฟ์สตรีม ยกตัวอย่างเป็นเกม

เมื่อคุณทำการเปิดเกมที่คุณต้องการจะสตรีมแล้ว ให้คุณกดตรงรูปบวก หรือวงกลมสีแดงในภาพ ซึ่งจะมีคำสั่งมากมายแตกต่างกันไป แต่ให้คุณดูคำสั่งตรงกรอบสีแดงในภาพก่อน ซึ่งสามคำสั่งนั้นจะเป็น Source ที่จะนำภาพขึ้นสตรีมได้ เรามาดูกันทีละคำสั่งว่าแต่ละคำสั่งต้องใช้งานอย่างไร

Display capture จะเป็นการนำภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณในขณะนั้น แบบเรียวไทม์ขึ้นมาบนจอสตรีม นั่นหมายความว่าผู้ที่ชมไลฟ์สตรีมของคุณจะเห็นแบบเดียวกันที่คุณเห็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้น ๆ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ สมมติคุณกำลังไลฟ์สตรีมเกมหนึ่งอยู่ แล้วคุณอยากที่จะแท็ปไปเล่นเฟซบุ๊ก ผู้ชมที่กำลังชมไลฟ์สตรีมสดของคุณอยู่จะเห็นแบบเดียวกับที่คุณเห็นทุกประการ ซึ่งสตรีมเมอร์หลายคนก็ใช้คำสั่งนี้ในการไลฟ์สตรีมมากมาย แต่สำหรับใครที่รู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นส่วนตัว อยากให้เห็นแค่เกมหรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้เห็นเท่านั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน

Game capture นำเฉพาะภาพของเกมใดเกมหนึ่งที่คุณทำการเลือกคำสั่งเป็นเกมนั้นให้ขึ้นเป็นไลฟ์สตรีมสด ผู้ชมจะเห็นแค่เฉพาะเกมที่คุณเลือกไว้เท่านั้น

Window Capture จะคล้ายกับเกม Game capture แต่ถ้าคุณแท็ปไปหน้าจออื่น Window Capture จะไม่ทำให้สตรีมของคุณหยุดนิ่ง

ทั้งสามตัวเลือกนี้ให้คุณเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่งในการดึงภาพขึ้นสตรีมเท่านั้น ส่วนจะเลือกตัวไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความต้องการของงานคุณเอง

ขั้นที่สาม

เมื่อคุณเพิ่ม Source ภาพสตรีมหลักได้แล้ว ต่อมาคุณจะต้องทำการเพิ่ม Source line-in line-out ,รูปภาพ และกล้อง Webcam

เริ่มจาก line-in หรือไมค์นั้นเอง คุณจะต้องทำการเพิ่มเข้าไปเพื่อเลือกว่าคุณจะใช้ไมโครโฟนตัวไหนในการพูดออกไลฟ์สตรีม

ให้คุณกดรูปบวกตรงรูปวงกลมสีแดงเช่นเดิม และเลือกคำสั่งกรอบสีแดงดังภาพ เมื่อคุณกดเลือกคำสั่งนั้นแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมา และให้คุณทำการเลือกไมโครโฟน line-in ตัวที่คุณต้องการใช้ในการไลฟ์สตรีมสด เมื่อคุณเลือกได้แล้วกดตกลงถือว่าจบขั้นตอนนี้

มาต่อเป็น line-out หรือหูฟังนั้นเอง

ขั้นตอนเหมือนกันกับ line-in ทุกประการ จะแตกต่างกันตรงที่การเลือกหูฟังเท่านั้นเอง แต่ถ้าคุณใช้ Headset และต้องการใช้ทั้งหูฟังและไมค์ คุณก็เลือก line-in กับ line-out อันเดียวกัน

ขั้นที่สี่

หลังจากเราได้ภาพสตรีม line-in line-out แล้ว ต่อไปจะเป็นการเพิ่มกล้อง เข้าไปในสตรีมนั้นเอง

เมื่อคุณเสียบสายกล้อง Webcam พร้อมตำแหน่งที่ต้องการเรียบร้อย คุณก็ทำการเพิ่ม Source ตามภาพเช่นเคย และเลือกกล้องที่คุณต้องการ แต่ถ้าคุณต้องการใช้กล้องดิจิตอล คุณจำเป็นจะมีการ์ดแคปเจอร์ที่เป็น HDMI in และ Out เป็น USB

การตั้งค่า

ให้คุณเลือกคำสั่ง Setting จะอยู่ด้านขวาล่าง

เลือกตรงแทบเมนูด้านซ้ายไปที่ Output ตามกรอบสีแดงในรูปภาพ

ต่อมาเลือก Output Mode ให้เป็น Advanced

Encoder – คือการเลือกใช้ทรัพยากรในคอมพิวเตอร์ว่าคุณจะใช้ CPU หรือ GPU ในการประมวลผลไลฟ์สตรีม ส่วนจะใช้ CPU หรือ GPU คิดง่าย ๆ ถ้า CPU คุณแรงใช้ CPU ในการสตรีม แต่ถ้า GPU คุณแรงก็ใช้ GPU ในการสตรีม ส่วนตัวแนะนำให้ใช้ CPU สตรีม เพราะ CPU ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในการประมวลผลหลักอยู่แล้ว

Bitrate – แนะนำให้ตั้งเป็น 4000 ถือเป็นค่ามาตรฐานในการไลฟ์สตรีมไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหนก็ตาม แต่คุณต้องคำนึงถึงความเร็วอินเตอร์เน็ต และตั้ง bitrate ให้สอดคล้องกันอย่างที่เราได้กล่าวไปบ้างต้นว่า อย่างน้อยความเร็วอินเตอร์อัพโหลดของคุณควรไม่น้อยกว่า 5-10MB วิธีคำนวณแบบเร็ว ๆ ความเร็วอัพโหลดอินเตอร์เน็ต 1MB = 1000 bitrate นั้นหมายความว่า ค่ามาตรฐาน 4000 bitrate อย่างน้อยความเร็วอัพโหลดอินเตอร์เน็ตของคุณจะต้องไม่น้อยกว่า 4MB นั้นเอง

CPU Usage Preset (higher = less CPU) – คำสั่งนี้ถ้าไม่ได้ใช้ CPU สตรีมจะไม่ขึ้นลักษณะนี้ ถ้า CPU ของคุณเป็น Core i5 Gen 7 หรือแรงกว่านั้น แนะนำให้ปรับเป็น veryfast ถ้าเป็น Core I7 Gen 8 – 9 หรือแรงกว่านั้น แนะนำให้ปรับเป็น Faster ส่วน AMD ให้เทียบสัดส่วนความเร็วที่พอกับทั้งสองรุ่นที่ผ่านมาก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน

ส่วนสุดท้ายในการตั้งค่าคือ ขนาดของวีดีโอ ซึ่งคุณจะสตรีมเป็น Full HD หรือจะสตรีมแค่ HD ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความสามารถของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ส่วน FPS นั้นแนะนำให้ตั้งเป็น 30 ก็เพียงพอต่อการสตรีมแล้ว หรือสำหรับใครที่ต้องการตั้งเป็น 60 ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

แพลตฟอร์มในการสตรีม

ในปัจจุบันแพลตฟอร์มในการสตรีมโดยทั่วไปจะมี Youtube,Twitch,Facebook,nimo TV เป็นต้น ส่วนจะสตรีมที่ไหนนั้นคุณต้องเป็นคนหาคำตอบเอง แต่เราจะแนะนำการสตรีมผ่าน Facebook ในเบื้องต้นให้

ขั้นแรกเข้าไปที่ facebook.com/live/create

หลังจากนั้นคลิ๊กที่ “สร้างสตรีมสด”

ส่วนที่ 1 คือ คำสั่งเลือกว่าคุณจะเผบแพร่สตรีมของคุณตำแหน่งไหน หน้าไทม์ไลน์เฟซบุ๊กตัวเอง หรือ เพจที่คุณเป็นคนดูแลอยู่

ส่วนที่ 2 คือ แคปชั่นต่าง ๆ ของหัวสตรีม

ส่วนที่ 3 คือ การใส่ประเภทของเกมที่คุณกำลังจสตรีม

ส่วนที่ 4 คือ steam key ให้คุณกดคัดลอกลิ้งค์ steam key ของคุณเอาไว้ และกลับไปที่โปรแกรม OBS

เมื่อคุณกลับมาที่โปรแกรม OBS ให้เลือกเมนูที่ชื่อว่า Steam ทางซ้าย และนำลิ้งค์ steam key ที่คัดลอกมาก่อนหน้านี้มาวางที่ช่อง steam key เมื่อวางเสร็จให้กด OK

และกด Start Steamimg

ขั้นตอนสุดท้าย

เมื่อคุณใส่ Steam key ในโปรแกรม OBS เสร็จเรียบร้อยกลับไปที่หน้าเฟซบุ๊ก

เมื่อคุณกดปุ่ม เริ่มถ่ายทอดสด สตรีมของคุณจะทำงานทันที

ขอให้สนุกกับสตรีมแรกของคุณ ขอบคุณครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here