Steamer กับ Game Caster แตกต่างกันอย่างไรและใครดีกว่ากัน
ในศตวรรษที่ 21 นี้ใครที่ยังไม่เคยได้ยินคำว่า Steamer และ Caster มาก่อน คุณอาจจะกำลังเป็นคนที่วิ่งตามโลกไม่ทันไปแล้วก็ได้ งั้นวันนี้เรามาวิ่งตามโลกให้ทันกัน
ในยุคปัจจุบัน มีอาชีพเกิดขึ้นมาใหม่อย่างมากมาย อาทิ Youtuber, Influencer, Creators, Beauty Blogger, Vloger, Gamer และที่เราจะมาพูดถึงกันอีก 2 อย่างนั้นคือ Steamer และ Game Caster สำหรับคนที่เล่นเกมหรืออยู่ในวงการเกมอยู่แล้วก็คงคุ้นเคยกับคำเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคนที่ไม่เคยรู้จักไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนอาจจะงง ๆ พอสมควร งั้นเรามาทำความรู้จักกันไปทีละชื่อ เริ่มจาก..
Game Caster

อาชีพ Game Caster หรือที่เรียกกันว่า “นักแคสเกม” หากจะให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือคนที่เล่นเกมนั้นเองจะมีความคล้ายคลึงกับเกมเมอร์พอสมควร แต่สิ่งที่ทำให้ นักแคสเกมแตกต่างจากเกมเมอร์ นั้นคือ นักแคสเกมนั้นจะทำการอัดวีดีโอการเล่นเกมที่เขากำลังเล่นในขณะนั้นเพื่อนำมาให้ผู้คนได้รับชมกันและนักแคสเกมจะใส่ แอคติ้งสร้างอารมณ์ บวกเทคนิคการตัดต่อวีดีโอของเขาให้สนุกสนานและดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จากเกมที่ดูน่าเบื่อไม่มีอะไร นักแคสเกมเก่ง ๆ สามารถที่จะนำเสนอเกมที่น่าเบื่อให้สนุกสนานทำให้เราดูแล้วอดกั้นขำเอาไว้ไม่อยู่ เมื่อคุณเริ่มเป็นนักแคสเกมที่มีชื่อเสียงจากนั้นละคือโอกาสที่คุณจะต้องไขว่คว้าเอาไว้ให้ดี ถามว่าโอกาสคืออะไร เมื่อคุณมีชื่อเสียงมีผู้ติดตามเยอะ เหล่านายทุนผู้ผลิตเกมทั้งหลายก็จะจับจ้องมาที่ตัวคุณ เมื่อผู้ผลิตเกมเขามีเกมใหม่ ๆ ออกมาใหม่เขาก็จะทำการว่าจ้าง นักแคสเกมชื่อดังทั้งหลายทำการ แคสเกมใหม่ให้กับเขาเพื่อเป็นการโฆษณานั้นเอง จนในยุคปัจจุบัน Game Caster กับกลายเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นใหม่ในหมู่วัยรุ่นเป็นอย่างมาก แถมสามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้อีกด้วย
นักแคสเกมชื่อดังในไทย ยกตัวอย่างเช่น
1.Zbing Z. นักแคสเกมสาวสวยน่ารักมาพร้อมลีลาการพากษ์เสียงที่จะทำให้คุณหลงใหลพร้อมเสียงหัวเราะ ณ ปัจจุบัน Zbing Z. มียอดผู้ติดตามในยูทูปถึง 9,200,000 คน เป็นนักแคสเกมอันดับหนึ่งที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดในประเทศไทยตอนนี้
2.Heartrocker หรือที่เรารู้จักกันในนาม พี่เอกฮาร์ดร็อกเกอร์ นักแคสเกมที่ดังไปถึงต่างประเทศ พี่เอกฮาร์ดร็อกเกอร์นั้นเป็นนักแคสเกมสายฮา ฮาแบบฮาน้ำตาไหลพร้อมทีมงานของพี่แกที่ช่วยกันสร้างเสียงหัวเราะได้อย่างสนุกสนาน แต่สิ่งที่มีความน่าสนใจของนักแคสเกมคนนี้คือ จนบัดนี้ยังไม่มีใคยเคยได้เห็นใบหน้าของพี่แกและยังคงเป็นความลับอยู่ว่า เอกฮาร์ดร็อกเกอร์ นั้นคือใคร
นักแคสเกมในไทยที่มีชื่อเสียงยังมีอีกมากมาย เราคงไม่สามารถยกตัวอย่างได้ทั้งหมด สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะเป็นนักแคสเกมบ้างก็สามารถลองไปติดตามนักแคสเกมที่มีชื่อเสียงทั้งไทยและต่างประเทศดูได้และสังเกตว่าแต่ละคนเขามีวิธีการแคสกันอย่างไรถึงทำให้พวกเขามีชื่อเสียงได้ขนาดนั้นและแน่นอน ชื่อเสียงที่มากย่อมมาพร้อมรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน
Game Caster มีรายได้อย่างไร
1.Youtube แน่นอนว่า นักแคสเกมแทบจะทุกคนจะมีช่องยูทูปเป็นของตัวเอง รายได้จากยูทูปหลัก ๆ จะมาจาก ค่าโฆษณา,และยอดผู้ติดตาม
2.ผู้สนับสนุน หรือ Sponsor เมื่อนักแคสเกมมีผู้ติดตามมาก ยอดการรับชมในวีดีโอต่าง ๆ ก็จะสูงตามไปด้วย เมื่อยอดการรับชมมากเท่าไหร่ก็จะเป็นที่สนใจของเหล่า Sponsor ต่าง ๆ เช่น ผู้ผลิตเกมที่จะจ้างคุณให้แคสเกมใหม่ ๆ ของเขานั้นเอง และ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม ยกตัวอย่าง หูฟัง เมาส์ ที่นักแคสเกมใช้ แว่นตากรองแสง หรือแม้กระทั่งขนมขบเคี้ยว นี่ก็จะเป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งเช่นกัน
Steamer

ส่วนอาชีพ Steamer นั้นจะมีความแตกต่างจาก Game Caster อย่างมากแต่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่ามันมีลักษณะคล้ายกัน การที่คุณกำลังบอกกับผู้อื่นว่าคุณเป็น Steamer นั้นค่อนข้างเป็นคำตอบที่ปลายเปิดมาก เดี๋ยวอธิบายคำว่า Steamer ก่อนว่าคืออะไร สตรีมเมอร์ หรือ นักสตรีมเมอร์ คือการที่คุณทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม,เล่นดนตรี,วาดภาพ,พูดคุย,แม้กระทั่งต่อจิ๊กซอ แล้วมีการถ่ายทอดสดแบบเรียวไทม์ผ่านกล้องไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ Youtube, Facebook, Twitch, Nimo Tv, และอีกมายมาย การถ่ายทอดสดแบบเรียวไทม์ให้เรานึกถึง Live Facebook สตรีมเมอร์จะคล้าย ๆ แบบนั้น หมายความว่าในขณะที่คุณกำลังไลฟ์สตรีม คุณสามารถพูดคุยตอบโต้กับผู้ชมของคุณได้ตลอดเวลา พร้อมการเปิดกล้องแสดงใบหน้าของผู้สตรีมให้ผู้ชมได้เห็นใบหน้าอันสวยหล่อของคุณ หรือบางสตรีมเมอร์บางท่านก็ไม่ได้เปิดกล้องก็มีเช่นกัน
ยกตัวอย่าง การไลฟ์สตรีม
สมมติว่าคุณเป็นนักสะสมโมเดลการ์ตูนญี่ปุ่น คุณอยากแนะนำพูดคุยเกี่ยวกับกลุ่มคนสะสมสิ่งชนิดนี้เหมือนกัน คุณก็สามารถที่จะตั้งกล้องไลฟ์สตรีมพูดคุยกับผู้ชมของคุณได้แบบเรียวไทม์โต้ตอบกันเดี๋ยวนั้นผู้ชมที่ชมคุณก็จะแสดงความคิดเห็นผ่านช่องคอมเม้น คุณก็อ่านคอมเม้นแล้วพูดตอบหน้ากล้องเดี๋ยวนั้นเลย แต่การไลฟ์สตรีมของคนส่วนใหญ่จะเน้นไปทางการสตรีมเกมเป็นส่วนมากจึงแม่แปลกที่คุณจะเข้าใจว่า สตรีมเมอร์กับนักแคสเกมจะมีความคล้ายกัน
แล้วสตรีมเมอร์มีรายได้อย่างไร
1.Donate (โดเนท) ถ้าแปลตรงตัวคือการบริจาคนั้นเอง แต่ในวงการสตรีมเมอร์เขาจะเรียกกันว่า “การสนับสนุน” ทีนี้เรามาขยายความคำนี้กันหน่อยว่ามันหมายถึงอะไร การโดเนทนั้นคือ การที่ผู้ชมที่กำลังรับชมไลฟ์สตรีมของคุณสดในขณะนั้น แล้วเขาได้โอนเงินผ่านช่องทางรับการสนับสนุนของสตรีมเมอร์คนนั้น ๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนสตรีมเมอร์คนนั้นให้มีกำลังใจหรือเป็นค่าใช้จ่ายที่เขามาไลฟ์สตรีมให้ผู้ชมดู ฟังดูตลกแต่มันคือเรื่องจริง แถมการโดเนทนั้นเป็นช่องทางรายได้หลักของสตรีมเมอร์หลายท่านเลยก็ว่าได้ แต่การสนับสนุนบางครั้งก็ไม่ได้เป็นแค่เงินอย่างเดียว อาจจะเป็นสิ่งของต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสตรีม อาทิ กล้องตัวใหม่ใช้สำหรับไลฟ์สตรีม, ไมโครโฟน อะไรพวกนี้เป็นต้น
2.Sponsor หรือ ผู้สนับสนุนนั้นเอง หัวข้อนี้จะมีความคล้ายกับ นักแคสเกมเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง คุณเป็นสตรีมเมอร์เกี่ยวกับเกม Shooting หรือเกมยิง ๆ พูดให้เข้าใจง่าย ๆ อาจจะมีผู้ว่าจ้างที่เขาจำหน่ายเม้าส์คุณภาพดี เขาก็อาจจะติดต่อขอเป็นผู้สนับสนุนให้คุณ โดยให้คุณนั้นใช้สินค้าของเขาออกไลฟ์สตรีมและอาจจะให้สตรีมเมอร์พูดข้อดีในขณะที่ใช้ว่ามันดีอย่างไรอะไรประมาณนั้น หรือแม้กระทั่งการวางโลโก้สินค้าต่าง ๆ บนหน้าจอไลฟ์สตรีมนั้นก็เป็นรายได้อีกหนึ่งช่องทางของสตรีมเมอร์เช่นเดียวกัน
3.Partner (พาร์ทเนอร์) หุ้นส่วน หรือ สังกัด สำหรับหัวข้อนี้จะมีความซับซ้อนเล็กน้อย เมื่อคุณเป็นสตรีมเมอร์ที่มีผู้ชมเยอะ ยกตัวอย่าง คุณไลฟ์สตรีมผ่าน Facebook ทุกครั้งที่คุณไลฟ์สตรีมและมียอดผู้ชมเยอะทุกครั้งในการสตรีมแต่ละครั้ง ทีมงานของ Facebook อาจจะเล็งเห็นตรงนั้นอาจจะมีการชักชวนคุณให้มาร่วมกันเป็นพาร์ทเนอร์กับ Facebook ทำสัญญาว่าจ้างกันโดยมีกฎข้อบังคับอะไรก็ว่าไป ทีนี้พอคุณเป็นร่วมเป็นพาร์ทเนอร์แล้วนี้ก็จะเป็นรายได้อีกช่องทางเช่นเดียวกัน
สรุป
ไม่ว่า Steamer หรือ Game Caster คงไม่มีใครสามารถที่จะบอกคุณได้หรอกว่าอะไรดีกว่ากันใครมีรายได้มากกว่ากัน เพราะปัจจัยและบริบทโดยรอบมีมากเกินกว่าที่จะเอามาวัดกัน แต่ถ้าคุณคิดว่าคุณอยากจะลองมาทำอะไรแบบนี้ คุณควรหาตัวเองให้เจอว่าคุณจะเป็นสายไหน ไม่แน่เมื่อคุณได้ลองแล้วคุณอาจจะอยากเป็น Youtuber มากว่า 2 สิ่งนี้ก็เป็นไปได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคงไม่ใช่อะไรดีกว่ากัน แต่สิ่งที่จะวัดกันได้นั้นคือ ( Content is King ) เนื้อหาสาระที่ดีต่างหากที่คุณจะนำเสนอออกมา แสดงออกมาให้คนได้ประจักษ์และยอมรับความสามารถในตัวคุณ