คำนี้เราอาจเคยได้ยินและเข้าใจความหมายมาร่วมกว่า 10 ปีก็จริงแต่ในสถิติการสร้างความเกลียดชัง ให้ร้าย หรืออะไรต่าง ๆ กลับเพิ่มมากขึ้นทุกที เสมือนจะเป็นอันตรายต่อเยาชนรุนแรงเข้าไปทุกทีและไม่มีสามารถออกมาจากวังวนของโลกโซเชียลมีเดียได้

หากเรามองให้ลึกลงไปแท้จริงแล้วการ bully หรือการให้ร้ายคนอื่น,กลั่นแกล้ง,เกลียดชัง มันมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนยุคอินเตอร์เน็ตเสียอีกแค่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมันเข้าไปกระตุ้นให้เรื่องเหล่านี้รุนแรงและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งความรุนแรงมันก็ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันทางสังคมของแต่ละคนด้วยว่ามีการรับมือกับเรื่องเหล่านี้อย่างไรให้ตัวเองยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

สำหรับบางคนหากรับมือไม่ไหวก็อาจถึงขั้นป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เก็บตัว สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง กลับกลายเป็นคนที่มีทัศนคติในแง่ลบ ซ้ำร้ายที่สุดอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายตัวเองในที่สุด แน่นอนว่าสิ่งที่จะช่วยป้องกันการถูก bully ได้นั้นเราจำเป็นต้องรู้เท่าทันเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสาเหตุของมันเมื่อเราเข้าใจขั้นตอนต่าง ๆ ความคิดของเราก็จะไม่ไปจมปักอยู่กับเรื่องนั้น ๆ แล้วชีวิตจะมีสุข

การกลายพันธุ์ของ Cyberbully

การประจาน,แฉ,ให้ร้าย,สร้างความขัดแย้ง สิ่งเหล่านี้คงเก่าไปแล้วสำหรับคนในยุคนี้ แต่การถูก bully หรือ bully คนอื่น หรือ มีส่วนร่วมกับการ bully นั้น ๆ กลับกลายเป็นว่าเรื่องเหล่านี้ถูกผสมกลมเกลียวไปกับชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว

การกลายพันธุ์ของ bully ยุคนี้ถูกเปลี่ยนรูปแบบหลัก ๆ อยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ รีวิว,คอมเมนต์,การโพสในแง่ลบ ซึ่งหากมองดี ๆ ทั้ง 3 รูปแบบนี้พื้นฐานของการ bully ไม่เปลี่ยน แต่เปลี่ยนที่วิธีการ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ หากเมื่อ 10 ปีก่อนคุณไปทานข้าวมันไก่สักร้านหนึ่งแล้วรู้สึกว่ารสชาติไม่ถูกใจหรือการบริการห่วย สิ่งที่คุณจะทำก็คืออาจจะไปบอกคนใกล้ตัวว่าอย่าไปกินร้านนี้นะไม่อร่อยแล้วก็จบแค่นั้น ปัจจุบันไม่ใช่คุณสามารถเข้าไปเขียนรีวิวร้านนั้นได้เลย หากร้านนั้นไม่ได้ใช้เทคโนโลยีคุณก็ไปเขียนโพสในพื้นที่โซเชียลของคุณ หนักข้อหน่อยก็ไปตั้งกระทู้พันทิป ไม่จบแค่นั้น เริ่มมีคอมเม้นต์จากโซเชียลทั้งด้านที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่สวยงามในเรื่องของความคิดต่าง แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้นความเห็นต่างในโลกของคอมเมนต์ตอบกลับ จากคอมเมนต์เรื่องรสชาติข้าวมันไก่ อาจลามไปถึงการเหยียดชาติพันธุ์,รสนิยมส่วนตัว,ฐานะทางการเงิน เรื่องเหล่านี้หาดูได้ไม่ยากเลยจริง ๆ

สิ่งที่น่ากลัวคือพวกเรากลับเพิกเฉยและรู้สึกมีอารมณ์ร่วม รู้สึกสนุกเมื่อได้อ่านคอมเมนต์อะไรเหล่านี้ คอมเมนต์ไหนเห็นไปทางเดียวกันคุณก็อ่านแล้วยิ้มเยาะชอบใจไปด้วย คอมเมนต์ไหนพิมพ์ไม่เข้าตาก็อยากจะไปตอบกลับเจ้าของคอมเมนต์นั้นเหลือเกิน หรือแม้กระทั่งการที่คุณโพสเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรงเกรี้ยวกราดแล้วนึกคิดเอาว่าทำแบบนี้แล้วรู้สึกดีโล่งเหมือนได้ระบายหรือทำให้จิตใจดีขึ้นก็ตาม ทว่าคุณทำแบบนั้นเป็นประจำหรือทำบ่อยครั้ง หรือ ทุกครั้งเวลามีปัญหานั้นอาจเป็นสาเหตุของการจมอยู่กับปัญหาแต่กลับเป็นผลกระทบทางด้านลบทั้งทางจิตใจและภาพลักษณ์

ศาตราจารย์ไรอัน มาร์ติน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสอคนซิน-กรีนเบย์ กล่าวไว้ได้น่าสนใจกลับเว็ปไซต์หนึ่งที่เปิดให้บริหารในการระบายอารมณ์ความโกรธต่าง ๆ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการทำในลักษณะนั้นจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นซึ่งผิดถนัด ศาตราจารย์ได้ให้ความเห็นไว้ว่า การทำแบบนั้นจะส่งผลให้ผู้ที่ประสบกับปัญหาจะจดจ่ออยู่กับปัญหาที่เจอเท่านั้น เมื่อปัญหานั้นกลับมาอีกครั้ง หรือมีปัญหาใหม่เข้ามาเขาคนนั้นก็จะทำแบบนั้นซ้ำไปซ้ำมา จะไม่ได้มุ่งเน้นในการแก้ปัญหานั้นให้หมดไปเสียมากกว่า

นอกจากนี้การโพสต์โดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรงหรือด้านลบยังแสดงให้เห็นถึงภาวะอ่อนแอทางจิตใจของคนนั้นด้วย เพราะว่าไม่สามารถรับมือหรือมีวิธีการจัดการกับปัญหาที่เผชิญได้ และเมื่อตัวเองรู้สึกว่าไม่สามารถรับมือกับปัญหานั้นได้ก็พยายามมาระบายออกทางโซเชียล (ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าหากอยากระบายหรือโพสต์ลงโซเชียลก็ควรโพสต์ระบายในเชิงบวกสร้างสรรค์ดีกว่าใช้คำพูดที่รุนแรงอาจเหมาะสมกว่า ถึงแม้ว่าปัญหานั้นเราจะเป็นผู้ถูกกระทำก็ตาม)

โพสต์เชิงลบในโซเชียลมีเดีย

เวลาเราเห็นโฆษณาอะไรซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จากที่จะไม่ซื้อก็ซื้อจนได้ จากไม่จำเป็นก็จำเป็นซะอย่างนั้น การโพสต์เชิงลบจากเพื่อนในโซเชียลก็เช่นเดียวกัน ในหลาย ๆ เรื่องของชีวิตบางครั้งคุณไม่เคยรู้จักหรือได้สัมผัสมันเลย แต่มีเพื่อนบางคนของคุณในโซเชียลมีเดียวโพสต์ถึงเรื่องนี้อยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชิงลบหรือเชิงบวกกลับกลายเป็นเราก็รับรู้เรื่องนั้น ๆ ไปเสียแล้วหากเป็นเรื่องที่ดีก็ดีไป แล้วถ้าเป็นเชิงลบละเราจะทำอย่างไร

คุณกำลังอยู่ใกล้คนเหล่านี้หรือไม่? โพสต์ว่าด่าทอหัวหน้าที่ทำงาน,โพสต์ให้ร้ายเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนสนิท,โพสต์ประจานคนรักตัวเองเวลาทะเลาะกัน,โพสต์เรื่องครอบครัวเสีย ๆ หาย ๆ,โพสต์โวยวายเวลารถติด โดยใช้คำพูดที่รุนแรงเกรี้ยวกราดคุณลองสำรวจดูว่าเพื่อนในโซเชียลมีเดียของคุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่หรือไม่ หรือคุณเองนั้นและที่กำลังทำแบบนี้อยู่ สำหรับคนที่มีเพื่อนในโซเชียลที่เข้าข่ายแบบนี้ ลองตั้งข้อสังเกตที่ครับว่า เราอยากอยู่ใกล้คนแบบนี้จริง ๆ หรือไม่ หากในชีวิตจริงเขาอาจไม่ได้เป็นคนแบบนั้น งั้นเราก็ควรคบเพื่อนคนนั้นแบบชีวิตจริงดีกว่าหรือไม่อย่างไร หากเป็นคุณเสียเองที่ทำแบบนั้นเคยย้อนกลับไปดูโพสต์เก่า ๆ ของตัวเองหรือไม่ว่าสิ่งที่พิมพ์ไปแสดงออกไปสมควรแล้วหรือยัง และเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้งรู้สึกอย่างไร

ผลเสียที่มิอาจมองได้ด้วยตา

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมหากวันนี้คนรอบข้างของคุณเขาพูดกันแต่เรื่องหาเงิน จะลงทุนอะไรดี จะขายอะไรดี จะพัฒนาตัวเองอย่างไรดี คุณจะไปพูดเรื่องโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ออกมาหรือไม่ หากวันนี้สังคมรอบข้างของคุณ เขาพูดกันแต่เรื่องไปเที่ยวนี่กัน ไปกินนี่กัน เสื้อผ้าแบรนด์นี้ออกใหม่ไปดูกัน ไปเดินห้างกัน มิหน่ำซ้ำคุณก็ต้องไปกดเงินเก็บออกมาใช้จ่าย หากวันนี้สังคมรอบคุณมีแต่เพื่อนที่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมาย เขาก็จะพาเพื่อน ๆ ที่ทำสิ่งผิดกฏหมายมาให้คุณรู้จักอีกมากมาย

โซเชียลมีเดียก็ฉันใดฉันนั้น หากวันนี้เพื่อน ๆ ในโซเชียลของคุณมีแต่การโพสต์ในเชิง bully ต่าง ๆ วันหนึ่งคุณก็อาจจะไปมีส่วนร่วมในการ bully นั้น ๆ ไม่ว่าจะกดไลท์หรือแชร์หรือแสดงความเห็นด้วย อย่าลืมสำรวจตัวเอง สร้างสังคมที่น่าอยู่ร่วมกันโดยเริ่มจากตัวคุณเอง ขอบคุณครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here