ถ้าคุณเคยมีความฝันในวัยเด็กอย่างหนึ่ง คือการเป็น “นักบินอวกาศ” แต่เส้นทางแห่งความเป็นจริงนั้นมันไม่ได้ง่ายเอาซะเลย ประเทศไทยก็ยังไม่เคยมีใครสักคนเลยที่ได้เป็น นักบินอวกาศ ที่ขึ้นไปปฏิบัติภาระกิจที่นอกชั้นบรรยากาศโลก
** ในที่นี้แอดหมายถึง การเป็นนักบินอวกาศจริง ๆ ขับเครื่องจริง ๆ ปฏิบัติภาระกิจจริง ๆ นะครับ ไม่ใช่แค่การเป็นลูกเรือโดยสารไปท่องเที่ยวแบบแป๊บเดียวกลับ **
นักบินอวกาศคนแรกของเอเชีย
โดยนักบินอวกาศคนแรกของเอเชีย คือ พลโท ฝาม-ตวน ( Phạm Tuân ) จากประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นนักบินอวกาศที่เข้าร่วมในโครงการวิจัยอวกาศโซเวียต – เวียดนาม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522


ครั้งแรกกับเที่ยวบินสภาวะไร้น้ำหนัก
แต่เมื่อประมาณ 15 ปี ที่ผ่านมา ทาง Zero Gravity Corporation ก็ได้ทำฝันของคนที่อยากสัมผัสประสบการณ์สภาวะไร้น้ำหนัก สักครั้งในชีวิต โดยที่ไม่ต้องออกไปนอกอวกาศ ด้วยการให้บริการ เที่ยวบิน Zero G เที่ยวบินไร้น้ำหนักขึ้นเป็นครั้งแรก
Zero Gravity Corporation ก่อตั้งโดยนาย Peter Diamandis แพทย์วิศวกร ชาวกรีก , นักบินอวกาศ นาย Byron K. Lichtenberg และ นาย Ray Cronise วิศวกรของนาซ่า
โดยนาย ปีเตอร์ ไดแมนดีส เคยได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Fortune ให้เป็น 1 ใน 50 ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก


ซึ่งเที่ยวบินไร้น้ำหนักเที่ยวแรก เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2005 กับเครื่องบิน Airbus A330 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ €6,000 (£4,785) หรือคิดเป็นเงินไทย ณ เวลานั้น ก็ประมาณ 354,000 บาท ต่อคนเลยทีเดียว
หลักการของ เที่ยวบิน ZERO G
โครงการ ZERO G เกิดขึ้นจากความต้องการในการเตรียมพร้อมของนักบินอวกาศก่อนขึ้นบินจริง และงานวิจัยต่าง ๆ ที่ต้องการทำในสภาวะไร้น้ำหนัก โดยไม่ต้องเดินทางไปในอวกาศจริง ๆ


โดยการสร้างเงื่อนไขสภาวะไร้น้ำหนักดังกล่าว เป็นการบังคับเครื่องบินให้บินในลักษณะเหมือนกับกราฟ พาลาโบล่า ( รูประฆังคว่ำ ) โดยความเร็วในการเทคออฟจะอยู่ที่ประมาณ 810 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยในช่วงขาขึ้น เครื่องบินจะบินด้วยความเร็ว 685 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำมุม 50 องศาขึ้นไปแตะที่ระดับ 7,600 เมตร ภายในเวลา 20 วินาที ซึ่งในช่วงนี้ผู้โดยสารก็จะได้สัมผัสแรงโน้มถ่วงของโลกจะเพิ่มขึ้น เป็น 1.8 g หรือเราเรียกว่าช่วง ไฮเปอร์ กราวิตี้ Hypergravity ( แรงโน้มถ่วงที่พื้นโลกปกติ เรากำหนดให้เป็น 1 g , g=gravity หรือ ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ) และเมื่อเครื่องพ้นบริเวณนี้ขึ้นไปถึงระดับ 8,500 เมตร ซึ่งจะยังอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นแรก ก็คือชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) นักบินจะทำการลดความเร็วของเครื่องลงเหลือ 380 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อบินต่อไปในแนวขนานกับพื้นโลก ก่อนจะปล่อยเครื่องร่อนลงแบบอิสระ หักหัวลงทำมุม 42 องศา
ในช่วงเวลาตั้งแต่พ้นระยะ 7,600 เมตร ขึ้นไปจนกระทั่งเครื่องดิ่งลง 42 องศากลับไปแตะที่ระดับ 7,600 เมตร อีกครั้ง ช่วงเวลาดังกล่าวจะกินระยะเวลาประมาณ 22 วินาที ซึ่งในช่วงทั้งหมดนี้เอง ค่า g จะเหลือเท่ากับกับ 0 +/- 0.02 กรัม ซึ่งผู้โดยสารก็จะได้สัมผัสกับสภาวะไร้น้ำหนัก ที่ใกล้เคียงกับสภาวะในอวกาศเลยทีเดียว
ซึ่งหลังจากเครื่องลงมาพ้นระยะ 7,600 เมตร ผู้โดยสารก็จะกลับไปสัมผัสกับช่วง Hypergravity อีกครั้ง จากนั้นนักบินก็จะเร่งเครื่องยนต์ ทำซ้ำแบบเดิมสลับไปมา จนกว่าจะจบเที่ยวบิน


ใครบ้างที่ใช้บริการ เที่ยวบิน ZERO G ได้
ข้อกำหนดก็คือ ผู้บริการต้องมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป (บางเที่ยวบินก็มีเที่ยวบินพิเศษสำหรับเด็กอายุ 13 ให้ขึ้นไปกับผู้ปกครอง) ไม่จำกัดเพศ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนขึ้นบินหากคุณมีโรคประจำตัว คุณไม่จำเป็นที่จะต้องฟิตเหมือนนักกีฬาโอลิมปิค เพราะการเดินทางของเรายังอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก มีผู้ใช้บริการจำนวนมากที่มีอายุ 70 ปี ก็ยังสามารถใช้บริการได้อย่างสบาย ๆ
แต่ก่อนคุณจะไปขึ้นบินก็จะต้องดาวน์โหลดเอกสารใบรับรองทางการแพทย์ไปให้แพทย์รับรองก่อนนะครับ โดยรายละเอียดและเอกสารก็จะมีให้ทุก ๆ บริษัทที่ให้บริการการบิน


ทำไมต้องไปช่วงนี้ ( 2019 )
ก็เพราะว่า ราคาของ เที่ยวบิน Zero G นี้สนนราคาก็ยังคง เหมือนกับตอนที่เปิดให้บริการครั้งแรกคือ 6,000 ยูโร หรือ 4,768 ปอนด์ อยู่นั้นเอง แต่ …. !!
ตอนนี้ค่าเงินทั้ง สองสกุลลดลงไปเกินครึ่ง !! จากวันนั้น ราคามันก็เหลือแค่ประมาณ 170,000 – 180,000 บาท เท่านั้น เอง T-T
ใครที่ชอบกีฬาเอ็กซ์ตรีมแล้วยังไม่ได้ลอง หรือใครที่อยากจะลองสัมผัสประสบการณ์แบบนี้สักครั้งในชีวิตก็อย่ารอช้ารีบฟิตซ้อมร่างกาย เตรียมแพ็คกระเป๋า ขึ้นบินไปกับ เที่ยวบิน Zero G กันเลย
ส่วนแอดขอตัวไปเก็บตังแพร๊พ !


ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.gozerog.com/
www.airzerog.com